สาระ : ศาสนา ศิลธรรม จริยธรรม
กลุ่มสาระฯ : สังคมศึกษา
ข้อมูลระดับ : มัธยมศึกษา
มีบางคนตั้งข้อสังเกตุว่า??
พระพุทธศาสนา มีลักษณะคล้ายกับวิทยาศาสตร์
เช่น สนใจศึกษาธรรมชาติยึดหลักของเหตุผล และท้าทายต่อการพิสูจน์ แต่หากจะพิจรณาให้รอบคอบ ก็น่าจะกล่าวในเชิงกลับกันมากกว่า วิทยาศาสตร์มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะวิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เพิ่งอุบัติขึ้นมาในโลกเพียงไม่กี่ร้อยปี ในขณะที่พระพุทธศาสนานั้นเกิดมาเกือบ 2600 ปีแล้ว หลักการของพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์เหมือนกัน คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร จะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป โดยจะเริ่มต้นที่หลักการของวิทยาศาสตร์ก่อน
หลักการของวิทยาศาสตร์
ก่อนจะกล่าวถึงกลักการของวิทยาศาสตร์ จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันในเรื่อง ความหมายของ วิทยาศาสตร์ ว่าคลอบคลุมประเด็นใดบ้าง
คำว่า วิทยาศาสตร์ เป็นคำไทย แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Science ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า หรือจากภาษากรีกว่า แปลว่า รู้ หรือความรู้ ความหมายอันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน คือหมายถึง ความรู้เรื่องธรรมชาติ ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่ในจักรวาล ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมากจนตามองไม่เห็น เช่น เชื้อโรคไปจนกระทั่งสิ่งที่ใหญ่มาก เช่น โลก ดวงอาทิตย์ ดวงดาว ตลอดจนจักรวาล ซึ่งประกอบด้วยดวงดาวทั้งหมด ธรรมชาติ ยังคลอบคลุมทั้งสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย ซึ่งเป็นวัตถุเรียกกันว่า สสาร และที่มีสภาพเป็น พลังงาน เช่นความร้อน แสงสว่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น และสิ่งมีชีวิตทั้งหมด เช่นพืช สัตว์ เชื้อรา ไวรัส รามทั้งตัวมนุษย์เอง
วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์แห่ง วัตถุ เพราะแบ่งธรรมชาติออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต หรื่อสิ่งไม่มีชีวิต กล่าวคือ ทุกสรรพสิ่งย่อมประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ
1. องค์ประกอบที่เป็นสสาร คือส่านที่เป็นตัวตน ถ้ามีขนาดใหญ่พอก็จะจับตัวได้ กินเนื้อที่ มีมวล มีน้ำหนัก
2. องค์ประกอบที่เป็นพลังงาน คือส่วนที่ไม่อาจจะจับต้องได้ สามารถแปรเปลี่ยนได้ โดยอาจเปลี่ยนเป็น งาน ได้ เช่น พลังงานไฟฟ้า สามารถผ่านเข้าสู่มอเตอร์ขับเคลื่อนรถยนต์ได้
จากองค์ประกอบทั้ง 2 ประกอบนี้วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายการเกิดปรากฎการณ์ต่างๆได้อย่างกว้างขวาง เช่นการที่อากาศร้อนอบอ้าวก่อนฝนตก เกิดจากการที่ก้อนเมฆ ซึ่งประกอบด้วยละอองน้ำ ซึ่งเป็นสสาร คายความร้อนแฝง ซึ่งเป็นพลังงาน ออกมา หรือการที่แสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงาน ส่องกระทบใบไม้ ซึ่งมีสารสีเขียวเรียกว่า คลอโรฟิล จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยใบไม้ จะสามารถดูดเอาก๊าซคาบอนไดอ๊อกไซด์ จากอากาศมารวมกับน้ำ แล้วแปรเปลี่ยนเป็นก๊าซอ๊อกซิเจนและแป้งซึ่งพืชใช้เป็นอาหารเรียกว่าสังเคราะห์แสง แนวความคิดเกี่ยวกับสสาร และพลังงานสามารถอธิบายปรากฎการณ์ใกล้ตัวเช่นการงอกของเมล็ดถั่ว ไปจนกระทั่งประสบการณ์ไกลตัว เช่นการเคลื่อนที่ของดวงดาวในจักรวาลได้
อย่างไรก็ดียังมีปรากฎการณ์อีกเป็นอันมากที่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและจิตใจของมนุษย์ เช่นการเวียนว่ายตาย เกิด การระลึกชาติได้ กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว การติดต่อกันโดยใช้พลังจิต การใช้พลังจิตเคลื่อนย้ายวัตถุ เป็นต้น
แต่ปรากฎการณ์เหล่านี้สามารถอธิบายได้ โดยอาศัยหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งได้กล่าวถึงในตอนต่อไป
การศึกษาธรรมชาติ เพื่อรู้เรียกว่า วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1. วิทยาศาสตร์กายภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษาสิ่งที่ไม่มีชีวิต ได้แก่วิชาฟิสิกส์ เคมี ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา และอุทกวิกยาเป็นต้น
2. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกศาสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งย่อยเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มพฤกษศาสตร์ ซึ่งศึกษาต้นไม้เละพืชทุกชนิด และกลุ่มสัตวศาสตร์ ซึ่งศึกษาสัตว์ทุกชนิด ตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียวไปจนกระทั่งมนุษย์ ทั้งสองกลุ่มนี้แตกสาขาย่อยออกไปอีกมากมาย
นอกจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแล้ว ยังมีวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นอีก 3 ประเภทคิอ
1. วิทยาศาสตร์สังคม เป็นการศึกษาธรรมชาติ ของมนุษย์ในสังคมซึ่งประกอบด้วยบุคคลตั้งเต่ 2 คนขึ้นไป ประกอบด้วยวิทยาการสาขาต่างๆ เช่นสังคมวิทยา มนุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ อาชญาวิทยา ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และจริยศาสตร์ เป็นต้น
2. วิทยาศาสตร์อัตภาพ เป็นการศึกษาธรรมชาติของจิตมนุษย์และปรากฎการณ์ทางจิตต่างๆเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นไม่นาน ได้แก่ วิชาจิตวิทยา ปรจิตวิทยา เป็นต้น
3. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เป็นการประยุกต์ความรุ้จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาทำประโยชน์ให้เกิดแก่มนุษย์ในการดำรงชีวิต เช่น วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เภสัชศาสตร์ แพทยศาสตร์ เป็นต้น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีชื่อเรียกอีกนัยหนึ่งว่า เทคโนโลยี
แต่เทคโนโลยีมิใช่วิทยาศาสตร์ประยุกต์ก็มี เช่น เทคโนโลยีการฝังเข็ม หรือการปักเข็มรักษาโรค ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ของจีนโบราณ อายุหลายพันปี เป็นสิ่งที่มิได้มาจากการค้นคว้า ทางวิทยาศาสตร์แต่ประการใดเพราะวิทยาศาสตร์มีอายุเพียงไม่กี่ร้อยปีเท่านั้น อย่างไรก็ดีจากความรุ้ทางวิทยาศาสตร์ เละการประยุกต์ความรู้นั้นมาใช้ประโยชน์ มนุษยชาติก็ได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าอย่างมากในเชิงวัตถุ เพียงไม่กี่ร้อยปี จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีระดับสูง ดังที่เป็นอยู่ในสมัยปัจจุบันนี้
การที่วิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาตัวเองและมีผลต่อมนุษยศาสตร์ที่รวดเร็ว เพราะวิทยาศาสตร์มีหลักการที่สำคัญอันเป็นเครื่องมือช่วยให้วิทยาศาสตร์มีความแข็งแกร่งและมั่นคงคือ
1. วิทยาศาสตร์มีความเชื่อพื้นฐานว่า ปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในธรรมชาตินั้นมีกฎเกณฑ์หรือระเบียบ ไม่เกิดขึ้นแบบลักลั่น เกิดขึ้นเพราะมีสาเหตุ ซึ่งอาจค้นพบได้หากผู้ค้นมีความสามารถเฉลียวฉลาดพอ ในการค้นหาความจริงเหล่านี้ อาจใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้วิธีการดังกล่าว คือการใช้หลักของเหตุผล เช่น การสังเกตุ การเปรียบเทียบ การจำแนก การวิเคราะห์ การหาข้อมูล การทดลอง การพิสูจน์ เป็นต้น จากความเชื่อนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงค้นพบกฎต่างๆทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่นกฎความโน้มถ่วงกฎทรงมวลของสสาร กฎการเปลี่ยนแปลงของพลังงาน
2. วิทยาศาสตร์มีความเชื่อว่า ความจริง อาจค้นพบได้หรือทราบได้จากการสังเกตโดยตรง หรือจากการทดลอง แต่ไม่นิยม การหาความจริงจากแหล่งความรุ้ที่มีการยอมรับโดยฐานะ เช่น เพราะผู้ใหญ่แนะนำ เพราะมีการระบุไว้ในคำภีร์โบราณ เพราะผู้พูดเป็นบุคคลสำคัญ
3. นักวิทยาศาสตร์ยึดถือว่าปรากฎการณ์ที่สามารถสังเกตุได้เท่านั้นจึงอยู่ใน อาณาจักรวิทยาศาสตร์ ปรากฎการณ์ใดที่ยังไม่อาจจะสังเกตุหรือวัดได้ ดังนั้น ปรากฎการณ์ที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณซึ่งเป้นเรื่องที่ยังตรวจสอบสังเกตหรือวัดไม่ได้ จึงยังไม่อยุ่ในวิสัยที่นักวิทยาศาสตร์จะศึกษา
4. การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะต้องมีการยอมรับสากล กล่าวคือ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นผู้ทดลอง ถ้าสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่างๆเหมือนกัน ผลการทดลองจะต้องเป็นแบเดียวกันเสมอ ไม่ขึ้นอยู่ตัวผู้ทดลอง จากหลัการข้อนี้นักวิทยาศาสตร์จะพิสูจน์ผลงานของนักวิทยาศาสตร์อื่นด้วยการศึกษาหรือทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าได้ผลตรงกันหมด การค้นพบครั้งนั้นก็จะได้รับการยอมรับในวงการวิทยาศาสตร์
5. วิทยาศาสตร์อาศัย ทฤษฎี เป็นเครื่องมือในการอธิบาย การเกิดปรากฎการณ์ต่างๆหรืออธิบายกฎ และนอกจากจพใช้เป็นคำอธิบายแล้ว ทฤษฎียังสามารถใช้พยากรณ์หรือทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นมนอนาคตอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กฎแห่งความโน้มถ่วง หรือการดึงดูดกันระหว่างเทห์วัตถุนำไปสู่การสร้างทฤษฎีสัมพันธภาพอันเลื่องชื่อของอัลเบอร์ต ไอน์สไตน์ สามารถอธิบายปรากฎการณ์ที่แสงจากดวงดาว ที่ห่างไกลจะมีแนวโน้มไปทางด้านสีแดงได้ แต่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สามารถ ล้มได้ หากมีการพบว่าปรากฎการณ์หรือหลักฐานที่ทำให้ต้องเปลี่ยนแนวความคิด เช่น เมื่อ 100 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์มีทฤษฎี อีเธอร์ คือเชื่อว่าในอวกาศเต็มไปด้วยสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อีเธอร์ แต่ต่อมาต้องล้มเลิกทฤษฎีนี้เมื่อมีการทดลองคัดค้าน สำเร็จ โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อไมเกิลสัน กับมอร์เลย์ เช่นเดียวกับทฤษฎี ฟลอจิสตัน ซึ่งล้มไปคือนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีสิ่งหนึ่ง เรียกว่า ฟลอจิสตัน เป็นตัวทำให้วัถถุลุกใหม้ เต่เมื่อมีการศึกษาเรื่องการลุกไหม้ หรือสันดาป โดยรอบคอบ ก็เกิดทฤษฎีอ๊อกซิเดชัน ขึ้นมาแทนที่ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
*****โดยอาศัยหลักการสำคัญทั้ง 5 ประการข้างต้น มนษย์ได้พัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว โยมีจุดประสงค์สำคัญ คือการเรียนรู้ธรรมชาติ และนำความรู้มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์เพื่อสนองความต้องการที่มีอยู่มากมาย ไม่สิ้นสุดและนับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆไปเพราะธรรมชาติของมนุษย์ที่ยังมีความทะเยอทะยานอยาก เมื่อได้สิ่งนั้นแล้วก็จะต้องการสิ่งนั้น และสิ่งอื่นๆเพิ่มขึ้นตลอดไป*****
หลักการของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาคือ คำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อช่วยมนุษย์ให้พ้นทุกข์ ซึ่งมีหลักการสำคัญ 3 ประการคือ
1. ให้ละเว้นการกระทำความชั่ว
2.ให้ตั้งมั่นอยู่ในการกระทำแต่ความดี
3.ให้ชำระจิตของตนเองให้ผ่องใสอยู่เสมอ
หลักการสำคัญทั้งสามประการนี้จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับร่างกายจิตใจทั้งสิ้น ซึ่งเป็นไปตามความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
“เราย่อมบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับแห่งโลก และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลก และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งโลก ในร่างกายอันมีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญา มีใจครองนี้ “
จากข้อความนี้ จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงย่อโลกทั้งโลกให้มาอยู่ในที่ร่างกายและจิตใจของมนุษย์ การปฏิบัติให้พ้นทุกข์ก็อยู่ที่การปฏิบัติทางกายและจิตใจของมนุษย์ด้วย กายและใจที่สัมพันธ์กัน หากกายไม่สบายใจก็จะมีผลต่อจิตใจ ในทางตรงกันข้ามหากใจไม่สบายก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายด้วย แต่พระพุทธองค์ทรงเน้นความสำคัญของจิตใจเหนือร่างกายดังพุทธภาษิตว่า
“จิต เตน นียติโลโก แปลความว่า โลกอันจิตย่อมนำไปคือมีจิตเป็นผู้นำ “
“มโนปุพพงคมา ธมมา” แปลความว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ดังสำนวนที่ใช้กันบ่อยว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ซึ่งเน้นความสำคัญที่จิตใจ
มรรคมีองค์ 8 คือทางแห่งการดับทุกข์นั้น เมื่อแรกเริ่มก็คือสัมมาทิฎฐิ หรือความเห็นชอบ ก็เป็นเรื่องของจิตใจ ไม่ใช่ร่างกาย ตามด้วยสัมมาสังกัปปะ หรือดำริชอบ ก็เป็นเรื่องของจิตใจ เช่นกัน และสองทางสุดท้าย คือ สัมมาสติ หรือระลึกชอบ กับสัมมาสมาธิ หรือตั้งใจชอบ ก็เป็นเรื่องของจิตใจทั้งสิ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับวิทยาศาสตร์
ในแง่ของประโยชน์ พระพุทธศาสนา มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ 3 ประการคือ
ประโยชน์ปัจจุบันได้แก่ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการดำรงตัวอยู่ในทางโลก ประโยชน์อนาคต คือ การมีหลักศีลธรรมประจำใจ ช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปโดยราบรื่น มีอนาคตอันแจ่มใสและประโยชน์สูงสุด หรือประโยชน์อย่างยิ่ง คือสามารถระงับเหตุแห่งทุกข์ คือ กิลเลสตัณหาต่างๆ ได้โดยเด็ดขาด จึงพ้นจากทุกข์โดยสมบูรณ์หรือ วิมุติหรือ ความหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองต่างๆ
แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเน้นในเรื่องจิตใจ เต่ก็มิได้ละเลยในเรื่องวัตถุเสียทีเดียว พระพุทธเจ้าเคยตรัสเกี่ยวกับ ปรมาณู หรือส่วนที่เล็กที่สุดของสสารในแง่ของวิทยาศาสตร์ไว้ แต่ทรงใช้วิธีเปรียบเทียนเพราะมิได้มีเครื่องมือวัดละเอียด ซึ่งเมื่อนำมาคิดคำนวณแล้ว ปรากฎว่าตรงกันกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้จากการทดลองอย่างน่าอัศจรรย์ทรงเปรียบเทียบว่า
1 ธัญญามาตร (ขนาดเล็กของเมล็ดข้าว)ประกอบด้วย 7 อูกา (ศรีษะของตัวเล็น)
1 อูกา ประกอบด้วย 7 สิกขา (รอยขีดเล็กๆ)
1 สิกขาประกอบด้วย 37 รถเรณู (ละอองเกษรดอกไม้)
1 รถเรณู ประกอบด้วย 36 ตัชชารี (ละอองรังสีมในแสงแดด)
1 ตัชชารี ประกอบด้วย 36 อนู (อนุภาคขนาดเล็ก)
1 อณู ประกอบด้วย 36 ปรมาณู
1 ปรมาณู แบ่งแยกไม่ได้อีก เพราะหากแยกต่อไปจะหมดสภาพของสารนั้น
หากประมาณว่าเมล็ดข้าว 1 เมล็ด มีความยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร เมื่อคำนวนดู จะพบว่าปรมาณูมีขนาดใกล้เคียงกันกับปรมาณูที่นักวิทยาสาสตร์ค้นพบอย่างน่าอัศจรรย์
ข้อสังเกต คือ พระพุทธองค์มิได้ทรงค้นพบโดยวิธีการทดลองแบบวิทยาศาสตร์ แต่ทรงทราบโดยการหยั่งรู้ด้วยพระญาณ ซึ่งเป็นวิถีทางของจิตที่บริสุทธิ์ สามารถทราบสิ่งที่เหนือธรรมดาได้ และสิ่งที่ทรงทราบโดยวิธีนี้ก็คือ “ความจริง” ที่ท้าทายต่อการพิสูจน์ เช่นเดียวกับเรื่องสำคัญคือ “อริยสัจ 4 ” ซึ่งเป็นการค้นพบที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนานั่นเอง ย่อมท้าทายต่อการพิสูจน์ได้ทุกเมื่อ ข้อแตกต่างระหว่างหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการของวิทยาศาสตร์คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นั้นเป็นความจริงที่เที่ยงแท้ไม่แปรเปลี่ยน (อกาลิโก) แต่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์นั้นอาจล้มได้ แปรเปลี่ยนได้หากมีการค้นพบใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเดิม
โดยสรุป พระพุทธศาสนาเน้นที่จิตใจ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดทุกข์ และการแก้ทุกข์ ให้คนพ้นทุกข์ เจตนาจึงต่างกับวิทยาศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับความรู้ต่าง ๆ และการนำความรู้มาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ แต่ไม่อาจทำให้คนพ้นทุกข์ได้ เพราะไม่มีแนวทางขจัดสาเหตุที่แท้จริงแห่งทุกข์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือที่สนองความต้องการ ความโลภ และตัณหา อันไม่มีขอบเขตของมนุษย์จึงต้องสนองกันเรื่อยไป ส่วนพระพุทธศาสนามุ่งลดที่เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา และกิเลส เมื่อลดความต้องการลงได้ก็ไม่จำเป็นจะต้องดิ้นรนหาอะไรมาสนองความต้องการนั้นอีกจึงเป็นวิธีดับทุกข์ที่ตรงเป้าหมาย
การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์
การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์นั้น มีความสอดคล้องกันเป็นอันมากจนมีบางคนกล่าวว่า พระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตใจ (Spiritual / Mental Science) และโดยเหตุที่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ก่อนวิทยาศาสตร์กว่า 2 พันปี จึงน่าจะกล่าวได้ว่าหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ไปสอดคล้องกับหลักการและวิธีการของพระพุทธศาสนามากกว่า ทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีจุดเน้นเหมือนกัน คือ สอนมิให้คนงมงาย ควรนำสิ่งต่าง ๆ มาพิจารณาด้วยเหตุผล มีการทดสอบทดลอง ตรวจสอบ จนเกิดความแน่ใจและเชื่อด้วยตนเอง ด้วยปัญญาที่สั่งสมไว้ของตนเอง
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนมิให้คนเชื่ออะไรง่าย ๆ (กาลามสูตร ติกนิบาต อังคุตรนิกาย) หรือมีศรัทธาแบบตาบอด 10 ประการ คือ
1. อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา
2. อย่าเชื่อโดยเข้าใจว่าเป็นของเก่าสืบ ๆ กันมา
3. อย่าเชื่อเพราะตื่นข่าว
4. อย่าเชื่อเพราะตำรากล่าวไว้
5. อย่าเชื่อโดยนึกเดา
6. อย่าเชื่อโดยการคาดคะเน
7. อย่าเชื่อโดยพิจารณาตามอาการ
8. อย่าเชื่อเพราะชอบใจว่าสอดคล้องกับความเชื่อเดิมหรือลัทธิของตน
9. อย่าเชื่อเพราะนับถือตัวผู้พูดว่าควรเชื่อได้
10. อย่าเชื่อเพราะผู้บอกเป็นครู อาจารย์ของตน
หลักการเหล่านี้ไม่แตกต่างกับหลักการของวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นเรื่อง “วิกฤต วิจารณญาณ” คือ การพิจารณาสิ่งใดต้องรอบคอบและถี่ถ้วนมากที่สุด
แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของสรรพสิ่ง ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต หากนำมาเปรียบเทียบกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับพระพุทธศาสนา จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกันอย่างดี ดังเปรียบเทียบต่อไปนี้
(วิทยาศาสตร์)สรรพสิ่งในจักรวาลอาจแบ่งออกได้เป็น 2 องค์ประกอบ คือ
1. สสาร
2. พลังงาน
(พระพุทธศาสนา)สรรพสิ่งในจักรวาลอาจแบ่งออกได้เป็น 2 องค์ประกอบ คือ
1. รูป
2. นาม
(วิทยาศาสตร์)1. สสาร แบ่งเป็น 3 สถานะ
1.1 ของแข็ง
1.2 ของเหลว
1.3 ก๊าช
(พระพุทธศาสนา)1. รูปต่าง ๆ แบ่งออกได้เป็น “ธาตุ” หรือ “ธรรมชาติ” 4 ประเภท
1.1 ดิน
1.2 น้ำ
1.3 ลม
1.4 ไฟ
(วิทยาศาสตร์)2. พลังงาน เช่น ความร้อน… แสง เสียง ฯลฯ
(พระพุทธศาสนา)2. นามหรือ “จิต” หรือ “วิญญาณ” เป็น “ธาตุรู้” หรือธรรมชาติที่รู้ได้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต
จากข้อมูลเปรียบเทียบด้านบนจะเห็นได้ว่า วิทยาศาสตร์อธิบาย “ธรรมชาติ” โดยมีแนวคิดว่ามี 2 องค์ประกอบ คือ สสารกับพลังงาน และใช้แนวคิดนี้อธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นส่วนมาก (กล่าวแล้วในตอน 1.1) แนวคิดดังกล่าวนี้สอดคล้องพอดีกับ “รูป” ในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งประกอบด้วย สสารและพลังงาน
แต่พระพุทธศาสนายังมีองค์ประกอบตัวใหม่ซึ่งไม่มีในวิทยาศาสตร์ นั่นคือ องค์ประกอบที่เรียกว่า “นาม” หรือ “จิต” หรือ “มโน” หรือ “วิญญาณ” ซึ่งเป็นธรรมชาติที่แตกต่างไปจากรูปนาม ประกอบด้วย
1. ความรู้สึก
2. ความจำ
3. ความคิดปรุงแต่ง ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ / สังเคราะห์
4. การรับรู้ทุกสิ่ง
พระพุทธศาสนาอธิบายว่า “ชีวิต” ย่อมประกอบด้วยรูป หรือส่วนที่เป็นร่างกายและนาม คือส่วนที่เป็นจิตใจซึ่งมีความสามารถ 4 ประการ ดังกล่าว และจากหลักการข้อนี้ พระพุทธศาสนาสามารถอธิบายได้ถึงสภาพการเกิดทุกข์ สาเหตุของการเกิดทุกข์ การเวียนว่ายตายเกิด กฏแห่งกรรม ตลอดจนวิถีทางทำให้ทุกข์ลดลง จนกระทั่งดับไปในที่สุด สิ่งเหล่านี้วิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบ จึงถือได้ว่าพระพุทธศาสนาก้าวไกลกว่าวิทยาศาสตร์มากมายนักในการอธิบายธรรมชาติของชีวิต
ข้อแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนาที่น่าสังเกต ประการหนึ่ง คือ แนวความคิดเกี่ยวกับ “ปัญญา” ซึ่งพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สูตปยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้รับฟัง ได้เห็น ได้ประสบมาด้วยตนเองจากประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น การได้รับทราบจากหนังสือ จากการบอกเล่าของครู จากการเห็นผู้อื่นทำ ฯลฯ
2. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ วิจารณ์ต่าง ๆ เช่น การแก้ปัญหาโจทย์เลขคณิต การทดลองวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าวิจัย ฯลฯ
3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการอบรมจิตของตนเองให้มีความสะอาด สงบ ก็จะเกิดความ “สว่าง” คือ ปัญญาชนิดนี้ขึ้น เป็นปัญญาที่ไม่จำเป็นต้องมาจากประสบการณ์หรือการนึกคิดพิจารณา เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเองในจิต จะได้คำตอบจากคำถามที่ตั้งขึ้น โดยไม่ต้องคิดความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็คือ ตัวอย่างสูงสุดของปัญญาชนิดที่ 3 ซึ่งเรียกอีกนัยหนึ่งว่าปัญญาทาง “ธรรม” ส่วนปัญญา 2 ประเภทแรก เรียกว่า ปัญญาทาง “โลก”
จุดแตกต่างที่เห็นได้ชัด คือ ปัญญาวิทยาศาสตร์ จะตรงกันกับปัญญา 2 ประเภทแรกของพระพุทธศาสนา การศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะกระทำต่อเนื่องนาน ลึกซึ้ง หรือเข้มข้นมากเท่าใด ก็เกิดปัญญาเพียง 2 ประเภทแรกเท่านั้น จะไม่มีปัญญาประเภทที่ 3 เกิดขึ้นเลย หากต้องการปัญญาประเภทที่ 3 พระพุทธองค์ก็ตรัสสอนบันไดไว้ 3 ขั้น คือ ให้ผู้นั้น
1. รักษาศีล คือ รักษากาย และวาจา ให้เรียบร้อยปกติ
2. เจริญสมาธิภาวนา ซึ่งประกอบด้วยสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
3. เจริญปัญญา โดยอาศัยหลัก “โยนิโสมนสิการ” คิดแบบแยบคายหรือถูกวิธี เช่น คิดแบบสืบสาวไปหาเหตุปัจจัย คิดแบบแยกองค์ประกอบ คิดแบบหาคุณโทษแล้วพิจารณาทางเลือก เป็นต้น รวมเรียกว่า ไตรสิกขา หรือ การศึกษา 3 ขั้น
อาจสรุปได้ว่าทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีความสอดคล้องกัน คือ
1. มีหลักการเหมือนกัน คือ มีการสังเกต บันทึก พิสูจน์ ทดลอง ใช้เหตุผลอย่างเต็มที่ ไม่เชื่องมงาย
2. เชื่อเหมือนกันว่าผลย่อมมาจากเหตุ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์มิได้เกิดจากการดลบันดาลของเทพเจ้า หากเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลผู้นั้นนั่นเอง เช่นเดียวกับกฎของแรงปฏิกิริยาจะเกิดเท่ากับแรงกิริยา บุคคลประสบผลของกรรมดีเพราะได้กระทำความดีไว้ก่อน เป็นต้น
3. ทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องวิวัฒนาการของชีวิตว่าชีวิตค่อย ๆ เปลี่ยนแปรรูป ใช้เวลานานแสนนาน (4 อัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย) เริ่มวิวัฒนาการจากชีวิตทีไม่มีเพศ จนกระทั่งเกิดมีเครื่องหมายเพศชัดเจน จากสัตว์เซลล์เดียว เป็นหลายเซลล์ สัตว์มีกระดูกสันหลัง ครึ่งบกครึ่งน้ำ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จนกระทั่งมนุษย์
4. ทั้งพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องของวิทยาศาสตร์กายภาพโดยเฉพาะสสารและพลังงาน ตลอดจนขนาดของปรมานู
ในด้านความแตกต่าง พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์มีแนวคิดไม่ตรงกัน คือ
1. พระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติโดยเน้นเรื่องจิตใจ และให้ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ส่วนวิทยาศาสตร์ศึกษาธรรมชาติหนักไปในทางวัตถุ เพื่อมาประยุกต์ความรู้ ใช้ประโยชน์ในทางโลกมิได้มีความคิดลึกซึ้งจะหนีทุกข์แต่ประการใด
2. คำสั่งสอนของพระพุทธองค์เป็นสัจธรรม ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ส่วนความคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์อาจแปรเปลี่ยนไปได้ หากมีเหตุผลหรือหลักฐานอื่นน่าเชื่อถือกว่า
3. พระพุทธองค์ทรงบรรลุปัญญาขั้นที่ 3 และปราศจากกิเลสตัณหาต่าง ๆ เพราะยังมิได้ชำระจิตให้สะอาด
4. แนวคิดในเรื่องจิตยังไม่มีในวิทยาศาสตร์ เหมือนพระพุทธศาสนาจึงไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์อีกหลายอย่างได้เหมือนพระพุทธศาสนา
ที่มา : สุดิพันธ์ ดอทเน็ต
http://www.aksorn.com/lib/libshow.asp?sid=613&sara=soc_01&level=S