1. คำถาม (Ask a Question) การเริ่มต้นด้วยคำถาม โดยใช้วาทศิลป์ (อันสูงส่ง) หว่านล้อม ช่วยกระตุ้นต่อมความอยากรู้อยากเห็น ของผู้อ่านเป็นเรื่องธรรมดาอยู่ได้ฉันใด การเริ่มต้นด้วยวิธีนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านพัวพัน หมกมุ่น อยู่กับเรื่องราวที่ตนอยากรู้ ไปจนจบเรื่องได้ฉันนั้น (ครับ)
2. แชร์เกร็ดเล็กๆน้อยๆ (Share Tips) เรื่องนี้ต้องพึ่งประสบการณ์ (บารมี) ที่คุณมีอยู่แล้วล่ะครับ โดยดึงความรู้นั้นออกมาใช้ เผยแพร่ แนะนำให้คนอื่นรู้ด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อผู้อ่านได้อ่านเจอเรื่องราว ในรูปแบบเช่นนี้แล้ว จะยิ่งชอบ และนับถือ ชวนให้อยากติดตามผลงานเรื่องต่อไปครับ
3. ปลุกจินตนาการ (Imagine) “แม้แต่ จอห์น เลนนอน ก็ยังร้องเพลง Imagine จินตนาการว่ามวลมนุษย์ จะอยู่ กันอย่างสันติ” (เพลงคาราบาว) “นวัตกรรมใหม่เกิดจากจินตนาการที่ไม่รู้จบของมนุษย์” อย่าแปลกใจที่ผมโยงเรื่องไปมา ชวนให้วกวน ไม่มีอะไรหรอกครับ แก่นแท้มันอยู่ที่ “จินตนาการ” คำเดียวเท่านั้น แต่สรุปง่ายๆ กับได้ 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรกเขียนเรื่องราวที่อ่านแล้ว มองเห็นมโนภาพ หรือจินตนาการตามได้ อาจจะเขียนเป็นบทละครใช้ภาษาง่ายๆ เข้าใจกันได้ทุกคนก็ได้ครับ ประเด็นที่สอง คือเขียนเรื่องราวในเชิงจินตนาการ แฟนตาชี มหากาพย์ (อะไรกัน นึกว่า Pirate’s of the Caribbean) ถ้าเขียนได้ จะน่าติดตามมากๆ
John Lennon - Imagine
4. เปรียบเทียบหรืออุปมาอุปมัย (Simile or Metaphor) ลองยกตัวตัวอย่างของสิ่งของสองสิ่ง มาเปรียบเทียบกัน ถึงข้อดี ข้อเสีย ข้อเด่น และข้อด้อย กันดูสิครับ เช่นเอาเครื่องเล่น MP3 สองยี่ห้อมาเปรียบเทียบกัน จากคุณสมบัติ ราคา ฟังก์ชันในการใช้งาน วิเคราะห์เรื่องดีเรื่องเด่นออกมา เขียนเป็นเรื่องให้คนอ่าน คิดดูสิครับ จะน่าติดตามเพียงใด (อย่าใช้ในทางที่ผิดเพื่อขายสินค้า ของตนแล้วกัน)
5. อ้างถึงสถิติ (Statistic) ตัวเลขหรือข้อมูลทางสถิติ จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ทำให้บทความใน Blog คุณน่าเชื่อถือขึ้นได้ ยิ่งถ้าข้อมูลนั้นเป็นที่โจษจันมากเพียงใด Blog คุณก็จะเป็นที่ยอมรับได้มากเพียงนั้น ดังนั้นแล้ว ประโยชน์สูงสุดที่ได้รับในข้อนี้ คือความน่าเชื่อถือของ Blog นั่นเองครับ
Bonus “50 คำ ตอนเริ่มบทความ มีผลต่อผู้อ่าน ว่าจะอ่านหรือไม่อ่านต่อดี” ถ้าใครเคยร่างต้นฉบับ ส่งสำนักพิมพ์คงรู้จักกันดี เพราะนี้เป็น หนึ่งในเทคนิคการเขียนบทความกันเลยทีเดียวครับ (ผมยังไม่เคย แม้แต่เรื่อง E-Book ที่เกริ่นไว้ ยังไม่ถึงไหนเลย) ตอนเริ่มขึ้นบทความใหม่ๆ ต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่านต่อไป และต่อไป จนจบเรื่อง ผู้อ่านก็อยากติดตาม ต่อไป และต่อไป จนจบเรื่องเหมือนกัน (ท่าดีทีดี ไม่ใช่ท่าดีทีเหลว)
No comments:
Post a Comment